บล็อกความรู้และความไม่รู้ เรื่องไฟแนนซ์ สินเชื่อรถยนต์ การจัดไฟแนนซ์รถมือสอง การจำนำรถ และเรื่องราวมากมายที่เกี่ยวกับเรื่องเงิน + รถ กับผมนาย Hidetoshi มือปราบไฟแนนซ์ ที่พร้อมมาช่วยแก้ปัญหาให้กับทุกคนจากประสบการณ์ตรง 100%

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


นิค : พี่ครับผมจะซื้อ vios ตัวใหม่สักคันหนึ่งชอบมากเลยตัวเนี้ย สวยโดนใจ แต่ติดปัญหาอยู่เรื่องเดียวคือไฟแนนซ์ต้องการคนค้ำพี่ช่วยไปค้ำให้ผมหน่อยได้มั้ยครับ

พี่เสือ : ไอ้นิคเป็นคนค้ำนี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะเว้ย!!! เกิดเอ็งไม่ยอมจ่ายค่างวด แล้วหนีไปพี่เป็นคนค้ำต้องจ่ายแทนเอ็งเดือดร้อนตายเลย

ยึดทรัพย์คนค้ำประกัน


นิค : ไม่หรอกครับพี่ผมจ่ายทุกงวดแน่นอน เดือนละ 7,500 ผมจ่ายได้สบายอยู่แล้วไม่ทำให้พี่เดือดร้อนแน่นอนผม confirm ครับ บ้านผมพี่ก็รู้จักไปตามผมเมื่อไรก็ได้ผมไม่หนีไปไหนแน่นอน

พี่เสือ : เอ็งแน่ใจนะ เอาวะเห็นว่าเรารู้จักกันมานาน เอ็งก็น้องพี่คนหนึ่งตกลงพี่ช่วยเป็นคนค้ำให้เอ็งก็แล้วกัน แต่อย่าลืมนะต้องจ่ายให้ตรงจ่ายค่างวดรถให้ครบทุกงวดนะ อย่าให้ไฟแนนซ์มาตามพี่ถึงบ้านนะเว้ย

นิค : ครับพี่เสือ ผมสัญญาครับว่าจะไม่ทำให้พี่เดือดร้อนเด็ดขาด ไว้ใจผมได้เลย ขอบคุณพี่มากๆครับ ^^

พี่เสือ : เออๆ

คุณผู้อ่านคิดว่าเหตุการณ์ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าคิดแบบความน่าจะเป็นก็คงมีอยู่ 2 ทางคือ

  1. นิคจ่ายค่างวดรถทุกงวดไม่มีขาด จนสุดท้ายผ่อน vios หมด พี่เสือสบายใจ
  2. นิคค้างค่างวดรถไม่ยอมจ่าย หนีหายเข้ากลีบเมฆไป พี่เสือเดือดร้อนโดนตามทวงหนี้ทุกเดือน
     ถ้าเป็นกรณีแรกคงไม่มีปัญหาอะไรเรื่องคงจบแบบ Happy ending ถ้าเป็นกรณีที่สองเมื่อไรเชื่อได้เลยว่าชีวิตพี่เสือขาดความสงบสุขแน่ คำถามก็คือเมื่อน้องนิคสุดที่รักไม่ยอมจ่ายค่างวดรถ แล้วพี่เสือซึ่งเป็นคนค้ำประกันจะโดนไฟแนนซ์เล่นงานยังไงกันบ้างนะ?

ไฟแนนซ์จัดการคนค้ำประกันที่ผู้ซื้อไม่ยอมจ่ายค่างวดอย่างไร?


  1. ช่วงเดือนแรกๆไฟแนนซ์จะยังคงไม่ทำอะไรมากนักเพียงแค่โทรไปถามคนค้ำเพื่อทวงค่างวดเพราะไอ้คนซื้อมันไม่ยอมจ่ายและไม่ยอมรับโทรศัพท์ ก็เลยโทรมาหาเราเพื่อให้เราไปตามผู้ซื้อให้อีกที หรือถ้าคนค้ำจะจ่ายแทนไฟแนนซ์ก็จะยินดีมาก (แต่คงไม่มีคนค้ำคนไหนอยากจ่ายแทนหรอกใช่มั้ยครับ)
  2. เมื่อไฟแนนซ์ตามจนเมื่อยตุ้มจนเวลาล่วงเลยมา 3 เดือนแล้ว ผู้ซื้อก็ยังไม่ยอมจ่ายค่างวดและไม่ยอมรับโทรศัพท์อีกเช่นเคย ไฟแนนซ์จะส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังผู้ซื้อ ซึ่งถ้าผู้ซื้อนิ่งเฉยไม่ยอมจ่ายหนี้ที่ค้างหรือไม่สามารถปิดบัญชีได้คราวนี้แหละ ผู้ซื้อและคนค้ำอย่างไรจะถูกฟ้องร้องร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินตามคำพิพากษา หรือพูดแบบให้เข้าใจง่ายๆว่า "คนค้ำกลายเป็นหนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เข้าแล้ว"

แล้วถ้าคนค้ำไม่ยอมจ่ายค่างวดแทนจะเกิดอะไรขึ้น


     ไอ้คนซื้อมันหนีไปแล้วคนค้ำก็ต้องชำระหนี้แทนต่อไป แต่ถ้าเกิดว่าคนค้ำไม่อยากจ่ายหรือไม่มีเงินจ่ายเหมือนกันจะเกิดอะไรขึ้น มีอยู่ประมาณ 3 ทางเลือกคือ

  1. ติดเครดิตบูโร (เป็นหนี้โดยที่ไม่ได้ก่อขึ้นเอง)
  2. อาจถูกยึดทรัพย์ (ข้าวของมีค่าในบ้านระวังไว้ให้ดี)
  3. อายัดเงินเดือน (ข้อนี้เด็ดขาดไฟแนนซ์สามารถทำอย่างนี้ได้ด้วยนะระวังไว้ให้ดี)
     เป็นยังไงบ้างครับการเป็นคนค้ำไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่มั้ยครับ เพราะถ้าไอ้คนซื้อมันไม่ยอมจ่ายค่างวดรถเมื่อไร 3 เดือนผ่านไปรับรองว่าเดือดร้อนแน่นอน เพราะฉะนั้นก่อนจะค้ำประกันรถให้ใครต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ถึงแม้จะเป็นญาติพี่น้องกันก็ต้องระวัง เห็นมาเยอะแล้วค้ำให้ญาติแล้วหนีหายไปต้องมานั่งใช้หนี้หัวโตกันเป็นแถวๆ

     ส่วนวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือคนค้ำต้องจ่ายค่างวดแทนนั่นเอง หรืออาจจะคุยกับไฟแนนซ์หาทางออกร่วมกัน ต่อรองกันได้พูดกับไฟแนนซ์ไปตรงๆว่าเราจ่ายได้เท่าไรก็ว่ากันไป ยังไงก็แล้วแต่ต้องจ่ายแน่นอนมันหนีไปไหนไม่ได้แล้ว สรุปว่าถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นก็คือต้องทำใจยอมรับความจริงสถานเดียว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น